smoke detector



รายละเอียด

อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) 


อุปกรณ์ตรวจจับควัน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบอนุภาคของควันโดยอัตโนมัติ โดยทั่วไป การเกิดเพลิง 



ไหม้ จะเกิดควันไฟขึ้นก่อน จึงทำให้อุปกรณ์ตรวจจับควัน สามารถตรวจจับควัน และแจ้งเตือนเหตุ ก่อนเกิดไฟไหม้ 



ได้ทันเวลา การติดตั้ง ควรติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน ในรัศมีไม่เกิน 2.5 เมตร ในพื้นที่ ที่อาจก่อให้เกิดไฟไหม้ และ 



อุปกรณ์ตรวจจับ สามารถป้องกันได้ในระยะพื้นที่ 20 ตารางเมตร 







ดยทั่วไป เครื่องตรวจจับควันมี ๒ ชนิดคือ เครื่องตรวจจับควันชนิดก่อให้เกิดไอออน (Ionization Smoke Detector) และเครื่องตรวจจับควันโดยใช้เทคโนโลยีของโฟโตอิเล็กทริก (Photoelectric Smoke Detector)
๑. เครื่องตรวจจับควันชนิดก่อให้เกิดไอออน
เครื่องตรวจจับควันชนิดก่อให้เกิดไอออนนั้น จะมีตัวตรวจสถานะของไอออน (ionization sensor) ประกอบด้วยวัสดุกัมมันตรังสี อะเมอริเซียม-๒๔๑ (Am-241) ปริมาณเล็กน้อย ซึ่งจะถูกบรรจุอยู่ในแผ่นทอง (gold foil matrix) อยู่ในห้องตรวจจับประจุ (ionization chamber) แผ่นจัตุรัส ถูกสร้างขึ้นโดยรีดโลหะทองและแท่งโลหะ americium oxide เข้าด้วยกันจนเป็นแผ่นที่มีความหนาประมาณ ๑ไมโครเมตร แผ่นที่ได้จะถูกประกบด้วยแผ่นเงินที่มีความหนาประมาณ ๐.๒๕ มิลลิเมตร และแผ่นเงินจะถูกเคลือบผิวด้วย palladium ที่มีความหนา ๒ ไมครอน ความหนาดังกล่าวเพียงพอที่จะกักวัสดุกัมมันตรังสี แต่บางพอที่จะให้อนุภาคแอลฟา (alpha particle) ผ่านได้
ห้องตรวจจับประจุประกอบด้วยแผ่นโลหะสองแผ่นที่ห่างกันเพียงเล็กน้อย แผ่นหนึ่งมีประจุบวกอยู่ อีกแผ่นมีประจุลบ ระหว่างแผ่นโลหะทั้งสองมีโมเลกุลอากาศซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยอะตอมของออกซิเจนและไนโตรเจนอยู่ โมเลกุลอากาศถูกทำให้เป็นประจุโดยอนุภาคแอลฟาจากวัสดุกัมมันตรังสี โดยอนุภาคแอลฟาซึ่งมีขนาดและน้ำหนักมากกว่าอิเล็กตรอน ชนอิเล็กตรอนให้หลุดออกจากอะตอมของออกซิเจนและไนโตรเจน ทำให้อะตอมของออกซิเจนและไนโตรเจนมีประจุบวก ส่วนอิเล็กตรอนที่หลุดออกมีประจุลบ
รูปที่ ๑. ในห้องที่ไร้ควัน การเคลื่อนทีของไอออนบวกและลบไปยังแผ่นโลหะที่มีประจุทำให้เกิดกระแสจำนวนเล็กน้อย
จาก รูปที่ ๑. แสดงให้เห็นถึงการทำงานของการแตกตัวประจุ อะตอมที่เป็นประจุบวกจะวิ่งเข้าแผ่นโลหะที่มีประจุลบ (Negative Plate) อยู่ ส่วนอิเล็กตรอนอิสระถูกดูดเข้าหาแผ่นโลหะที่มีประจุบวก (Positive Plate) อยู่ การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนดังกล่าวทำให้เกิดการกระแสไหลเล็กน้อยอย่างคงที่ เมื่อควันเข้าสู่ห้องประจุ ดังรูปที่ ๒. กระแสถูกรบกวน เนื่องจากอนุภาคควันจับตัวกับไอออน และคืนสภาพเป็นกลาง (neutral) ให้กับอะตอม ซึ่งเป็นผลทำให้ปริมาณกระแสที่ไหลระหว่างสองแผ่นโลหะมีปริมาณลดลง เมื่อกระแสลดลงถึงระดับหนึ่ง สัญญาณแจ้งเตือนก็เริ่มทำงาน
รูปที่ ๒. อนุภาคควันและไอของการเผาไหม้ ทำปฏิกิริยากับไอออนที่ถูกสร้างโดยอนุภาคแอลฟา ทำให้สภาวะประจุกลับเป็นกลางและลดปริมาณกระแสที่ไหลผ่าน cell เมื่อจำนวนไอออนมีน้อยลง กระแสที่ถูกรบกวนจะทำให้เกิดสัญญาณแจ้งเตือน
๒. เครื่องตรวจจับควันโดยใช้เทคโนโลยีของโฟโตอิเล็กทริก (Photoelectric Technology)
เครื่องตรวจจับควันโดยใช้เทคโนโลยีของโฟโตอิเล็กทริก มีตัวห้องตรวจจับเป็นรูปตัวที โดยจะมีไดโอดเปล่งแสง (LED) และเซลแสง (Photocell) อยู่ภายใน ซึ่งไดโอดจะเปล่งลำแสงไปตามแนวราบของห้อง ส่วนเซลแสงอยู่ตรงส่วนล่างของส่วนตั้งของห้อง เซลแสงจะสร้างกระแสเมื่อแสงตกกระทบ
รูปที่ ๓. แสดงให้เห็นถึงการทำงานของเทคโนโลยีนี้ ภายใต้สภาวะปกติที่ปราศจากควัน ลำแสง LED เคลื่อนเป็นเส้นตรงตามแนวราบตลอดช่วงของห้อง โดยแสงดังกล่าวจะไม่กระทบเซลแสงเลย เมื่อมีควันเข้ามาในห้อง อนุภาคควันจะเบี่ยงลำแสงกระจายไปทุกทิศทาง แสงบางส่วนตกกระทบเซลแสง เมื่อมีปริมาณแสงจำนวนหนึ่งตกกระทบเซลแสงก็จะทำให้เซลแสงทำงานซึ่งเซลแสงก็จะสร้างกระแสออกมา กระแสที่ไหลออกจะทำให้สัญญาณแจ้งเตือนทำงาน


อ้างอิ่งที่มาข้อมูลhttps://www.google.co.th/searchq=smoke+detector&hl=th&tbo=u&tbm=isch&source=univ&sa=X&ei=6SQCUZLEKIaKrgfB44GgCg&sqi=2&ved=0CFsQsAQ&biw=1366&bih=624



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น